‘2 ทางเลือก’ ฟื้นเศรษฐกิจหลังโควิด

749

รัฐบาลไทยต้องตั้งหลักให้ดีในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ มองสถานการณ์ของโลกให้ทะลุว่าการค้าโลกกำลังเดินไปในทิศทางใด จะเป็นโอกาสให้รัฐบาลกำหนดนโยบายการค้าระหว่างประเทศในแนวใหม่ แต่หากยังเลือกทางเดิม ต้องระวังความเสี่ยงสูงที่เศรษฐกิจไทยอาจฟื้นไม่ทันสถานการณ์

เมื่อ “โควิด-19” มีแนวโน้มคลี่คลาย รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อาจต้องเร่งดำเนินการฟื้นฟูประเทศ เพื่อให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจประเทศเดินหน้า

ซึ่ง​มาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจครั้งนี้ จะมีความยากลำบากมากกว่าครั้งใดๆ ที่ผ่านมา เนื่องจากโควิด-19 ยังไม่หมดไป และยังคงอยู่กับเราไปจนกว่าโลกจะค้นพบวัคซีนที่รักษาได้

เวลานี้การทำมาค้าขายทั้งในและต่างประเทศสะดุดหยุดลง ไม่คล่องตัวเหมือนเดิม ซึ่ง WTO คาดว่าปริมาณการค้าโลกจะหายไประหว่าง 13%-32% ในปี 2563 ในขณะที่ IMF แถลงว่าเมื่อต้นเดือน เม.ย.ประมาณการว่าเศรษฐกิจโลกจะติดลบ 3% ส่วนประเทศไทยติดลบถึง 6.7% ในปี 2563

วันนี้รัฐบาลไทยจึงต้องมีความพร้อมที่จะสู้กับการถดถอยของเศรษฐกิจไทย ที่ไม่ต่างไปจากการต่อสู้กับโควิด-19 โดยอาศัยการเปลี่ยนวิกฤตการณ์นี้ให้เป็นโอกาส ซึ่งเชื่อว่า อยู่ในวิสัยที่รัฐบาลจะทำได้

Advertisement

สำหรับการฟื้นฟู แม้เศรษฐกิจภายในจะเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องทำ แต่เศรษฐกิจต่างประเทศก็มีความสำคัญไม่ต่างกัน เพราะช่วยสร้างรายได้ให้แก่ประเทศ เสริมภาคการเงิน การคลัง ที่ต้องใช้เม็ดเงินพัฒนาประเทศ และลดภาระเงินกู้ด้วย รัฐบาลคงต้องทำควบคู่กันไปทั้งภายในและต่างประเทศ

ในเชิงนโยบาย ที่สามารถดำเนินการกับเศรษฐกิจภาคต่างประเทศ ผมมองว่ารัฐบาลมี ทางเลือกคือ

1.การขับเคลื่อนเศรษฐกิจต่างประเทศในแนวทางเดิม แบบที่ทำมาตลอดระยะเวลากว่าครึ่งศตวรรษคือเน้นการขยายตัวของ GDP ส่งเสริมสนับสนุนการผลิตเพื่อส่งออก และการจัดสิทธิประโยชน์ต่างๆ แก่การลงทุน ตลอดจนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น ซึ่งทำให้เศรษฐกิจไทยพัฒนาได้ดีตลอดมา 

หากจะเลือกดำเนินการต่อไปในแนวทางนี้ แม้พื้นฐานเศรษฐกิจไทยจะยังดีอยู่ก็ตาม อาจไม่ช่วยให้เศรษฐกิจเกิดการขยายตัวได้เหมือนเดิม โดยเฉพาะจะเห็นได้ว่าในช่วงระยะเวลา 1 ทศวรรษที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยขยายตัวโดยเฉลี่ยน้อยมาก และล่าสุดต่ำกว่าหลายประเทศในกลุ่มอาเซียน

2.การขับเคลื่อนเศรษฐกิจต่างประเทศในแนวทางใหม่ หรือกล่าวกันว่าความปกติในรูปแบบใหม่ (New Normal) ที่มักถูกนำมาใช้กับเศรษฐกิจที่ถดถอยหลังวิกฤตการณ์

สำหรับ New Normal จากผลกระทบโควิด-19 ยังไม่อาจสรุปได้ว่ารูปแบบเศรษฐกิจและธุรกิจจะเปลี่ยนไปอย่างไร แต่เกิดความเปลี่ยนแปลงแน่นอน อย่างที่เริ่มปรากฏความเคลื่อนไหวจากการย้ายฐานการผลิต ห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) และ SMEs ออกจากประเทศหนึ่งย้ายไปสู่อีกประเทศหนึ่ง ที่รวมตัวกันไปอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน และใกล้ผู้บริโภคมากขึ้น หรือการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาปรับใช้อย่างกว้างขวางมากขึ้น ทั้งระบบอัตโนมัติอย่างหุ่นยนต์ หรือปัญญาประดิษฐ์ รวมทั้งการปรับตัวเข้าสู่เทคโนโลยีที่แข่งขันกันบนแพลตฟอร์มดิจิทัล ในอัตราที่เร่งเร็วขึ้น

ที่มา : www.bangkokbiznews.com

Advertisement
Haus23
Haus23
Haus23